ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช (ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม) ได้ออกมาโพสต์ข้อคาวมระบุ
รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กรณีเด็กอายุ ๘ ขวบ กิจกรรม “ เชื่อมจิต” ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมไทย-สื่อไทย ทั้งเรื่องความเหมาะสม การบิดเบือนพระพุทธศาสนา จนถึงการหาประโยชน์จากเด็กหรือไม่
๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
มาตรา ๖๗ “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ มาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการ หรือกลไกดังกล่าวด้วย”
เรื่องการอุปถัมภ์คํ้าจุนศาสนา โดยการนําหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนาเรื่อง ไตรสิกขามาบัญญัติเพิ่มเติมโดยกําหนดให้รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทั้งนี้ การใช้คําว่า “หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาท”
เพื่อให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาที่อ้างถึงไว้ในมาตรานี้ หมายถึง พระพุทธศาสนาที่สืบ ต่อมาจากครั้งพุทธกาลเป็นแบบแผนเดิมไม่ขาดสายอันเรียกว่า เถรวาท เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงแก่น แท้แห่งพระพุทธศาสนา รวมทั้งหลักการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาเพื่อไม่ให้มีการบ่อนทำลาย พระพุทธศาสนาทั้งภายในและภายนอก หรือโดยวิธีการใด ๆ
โดยวางหลักการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ดังนี้
๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
๒) ต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด
๓) ให้พุทธศาสนิกชนหรือฆราวาสมีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยมีส่วนร่วมในการปกป้อง พระพุทธศาสนา เพื่อความเจริญและความยั่งยืนในการนับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
“หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาท” เพื่อให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาที่อ้างถึงไว้ในมาตรานี้หมายถึง พระพุทธศาสนาที่สืบต่อมาจากครั้งพุทธกาลเป็นแบบแผนเดิมไม่ขาดสายอันเรียกว่า เถรวาท เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงหลักอันแท้จริงแห่งพระพุทธศาสนา โดยมิได้เป็นการตัดรอนคํา สอนของนิกายอื่น หากแต่เป็นการสร้างความชัดเจนให้แก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเพื่อจะรักษาสืบ ต่อพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศชาติบ้านเมืองสืบต่อไป โดยมิได้เป็นการลดความสําคัญของ พระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ลง
ประกอบ มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
มาตรา ๑๓ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ด้วย ถ้อยคํา ดังต่อไปนี้“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า
มาตรา ๒๕ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการ เฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคล ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
๒.พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ มหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๕ ตรี มหาเถรสมาคมมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา วรรคสอง เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอํานาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับวางระเบียบ ออกคําสั่ง มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใช้อํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้
มาตรา ๑๙ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติมหาเถรสมาคม ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจํานวนหนึ่ง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคมและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมายโดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคมการจัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ การแต่งตั้งกรรมการหรืออนุกรรมการ การพ้นจากตําแหน่งของกรรมการหรืออนุกรรมการ และระเบียบการประชุม ให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคม
๓. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท าผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักน าไป ในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ตามที่กําหนดใน กฎกระทรวง
หมวด ๒ การปฏิบัติต่อเด็ก
มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ตํ่ากว่ามาตรฐานขั้นตํ่าตามที่กําหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
มาตรา ๒๕ ผู้ปกครองต้องไม่กระทําการ ดังต่อไปนี้
(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
มาตรา ๒๖ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการ ดังต่อไปนี้
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทําให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ สําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจําต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า
แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นัก สังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับตัวเด็กไว้รักษาพยาบาล ครูอาจารย์ หรือนายจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์หรือลูกจ้าง จะต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ทราบโดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่ วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทําโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง
หมวด ๔ การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด
(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๙
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็น
เอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคํา ไม่ยอมให้ถ้อยคํา หรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคํากลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคํายังไม่เสร็จสิ้นการดําเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
– กฎกระทรวง กำหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ.๒๕๔๙
เด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา ๔๐ (๓) ได้แก่
(๔) เด็กที่อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าประกอบอาชีพไม่สุจริตหรือหลอกลวงประชาชน
– กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๓ (๒) ด้านสุขภาพจิต แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
(ข) ได้รับการเรียนรู้ได้แก่ การเรียนรู้ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ด้านจริยธรรม เช่น การมีเงื่อนไขและปัจจัยภายนอกที่เอื้อด้านคุณธรรมของเด็ก รวมทั้งมีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีและงดเว้นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และมีการเล่นอย่างเหมาะสม เช่น เล่นของเล่นที่ไม่เป็นอันตราย ไม่กระตุ้นพฤติกรรมเบี่ยงเบน และไม่ขัดขวางพัฒนาการ ของเด็ก
(ค) มีอารมณ์และพฤติกรรมปกติไม่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น มีความสุข สามารถควบคุมตนเองได้แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม และไม่มีปัญหาด้านพฤติกรรม
(ง) มีทักษะในการดูแลตนเอง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม
(จ) สามารถแสดงออกทางสังคม เช่น เตรียมตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวัยใน การเข้าสู่สังคม วางตัวได้เหมาะสม และสามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคม
ข้อ ๔ ผู้ปกครองต้องมีศักยภาพและปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
(๓) กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการฝึกวินัย ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(ก) เรื่องเกี่ยวกับตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน หนังสือ
(ข) เรื่องจริยธรรมของเด็กโดยสร้างเงื่อนไขควบคุมจากภายนอก เช่น การจูงใจ ให้มีพฤติกรรมที่ดีการยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีและสร้างความสามารถควบคุมจากภายใน เช่น ฝึกให้เด็กสามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดีมีทักษะในการควบคุมอารมณ์เกิดแรงจูงใจอยากทําสิ่งที่ดีด้วย ตัวเอง
(๔) ให้การตอบสนองทางอารมณ์แก่เด็กในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(ก) ดูแลไม่ให้เด็กมีความทุกข์เกินกว่าพัฒนาการตามวัย และขจัดปัจจัยที่มีผลทําให้เกิดความทุกข์หรือความคับข้องใจของเด็ก
(ข) ดูแลเด็กในด้านการจัดการกับอารมณ์เช่น ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง ฝึก ให้เด็กรู้จักขอความช่วยเหลือ
งานเข้า สำนักพุทธ สั่งเพิกถอนวีซ่า พระลิน – พระบัวลัย เตรียมประสาน ตม. พร้อมกำชับเจ้าคณะผู้ปกครองให้ระมัดระวังการรับพระภิกษุทั้ง 2 รูป เข้าพำนักในพื้นที่ จากกรณี พระลิน สุจิตโต พระสายมู…
สลดเจอสิ้นใจแล้ว 2 นอนดิ้นใกล้ขาดใจอีก 10 ชาย-หญิง-เด็ก ชาวโรฮิงญาถูกลากโยนทิ้งป่าละเมาะริมเขาข้างวัด แก๊งค้ามนุษย์ขนกว่า 70 คนอัดแน่นกระบะตู้ทึบ ขาดอากาศหายใจ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 17…
เปิดคอมเมนต์ล่าสุด กลางโพสต์ ‘เคลวิน’ แฟนสาว ‘มิน พีชญา’ วอนอย่าทิ้ง ขอให้อยู่เคียงข้าง หลังถูกจับคดีใหญ่ ดิไอคอนกรุ๊ป จากกรณีนางเอกดัง “มิน พีชญา” ผู้หญิงหนึ่งเดียว ในกลุ่มดาราคนดัง ที่ถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหา คดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’…
สืบนครบาล รวบ “เสี่ยมีน”ตำนานไฮโซเก๊ อายุ 27 ปี อาศัยหน้าตาดี สร้างโปรไฟล์หรู หลอกเหยื่ออื้อนับ 10 ล้าน อึ้งหลอกผู้หญิงคบที 4-5 คน สุดท้ายไม่รอด…
คนในซอย เปิดใจ คิดว่าถ่ายหนัง หนุ่มแอบในกระโปรงหลังรถ ตามจับโป๊ะเมียมีกิ๊ก พอจับได้กะซวกไม่ยั้งกว่า 20 ครั้ง จนฝ่ายหญิงเสียชีวิตคารถ ความคืบหน้ากรณี นายณัฐพล อายุ 42 ปี ก่อเหตุสังหาร…
อย. ลุยสมุทรสาคร จับสินค้าพม่าลักลอบนำเข้า ยึด อาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย สมุนไพร รวม 1.6 หมื่นชิ้น ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย วันที่ 8…